วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ด้วงกว่างซางหูกระต่าย Eupatorus birmanicus


ด้วงกว่างซางหูกระต่าย
Eupatorus birmanicus

หรือด้วงกว่างซางพม่า ตัวนี้เป็นด้วงกว่างอีกหนึ่งตัวที่ผมพยามจะเพาะเลี้ยงให้ได้ครบวงจรชีวิตของมัน
ย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้วผมพยายามเพาะเจ้าตัวนี้ก็ได้หนอนมาพอสมควรแต่เนื่องจากภาระกิจด้านงานประจำจึงไม่มีเวลาเปลี่ยนอาหารให้หนอนและไม่ได้ดูแลทำให้หนอนตายหมดตั้งแต่หนอนระยะที่2ครับ และปีนี้คิดไว้ว่าจะลองแก้ตัวใหม่และจะเพาะพันธ์มันให้ได้ จึงเริ่มต้นใหม่โดยเข้าไปหาด้วงในป่าต้นกำเนิดของด้วงชนิดนี้เลยครับ ด้วงชนิดนี้จะออกมาราวๆเดือนกรกฎาคมไปจนถึงเดือนกันยายนครับ
ในการจับด้วงชนิดนี้เราจะมีสองวิธีคือหนึ่ง ใช้กับดักแสงไฟโดยใช้หลอดไฟแบล็คไลท์ล่อให้ด้วงบินเข้ามาเล่นไฟแล้วจับมัน
สองคือเข้าไปจับที่ป่าต้นกำเนิดของด้วงเลย ซึ่งวิธีที่สองนี้เราต้องรู้ว่าด้วงชนิดนี้กินอะไร อยู่ที่ไหน พอดีเมื่อวันหยุดที่ผ่านมามีน้องที่เคยรู้จักกันบอกว่าจะพาไปดูเลยได้รูปการสำรวจค้นหาด้วงมาให้ดูกันนิดหน่อยครับ
เราจะเริ่มต้นกันที่ป่าไผ่ครับ ซึ่งป่าไผ่ก็มีไผ่หลากหลายชนิดมาก แต่เจ้าด้วงกว่างซางหูกระต่ายนี่ในธรรมชาติทางนี้มันจะกินหน่อไม้ไผ่ผากใหญ่(เป็นชื่อเรียกเฉพาะถิ่นทางเมืองกาญจน์นะครับ)ครับ
เริ่มต้นเดินทาง ก็พบเห็นว่าป่าไผ่ที่เป็นที่อยู่อาศัยของด้วงได้ถูกรุกรานไปมากพอสมควร ตั้งแต่ราคายางพาราที่พุ่งสูงขึ้นมาจากที่เคยเป็นป่าไผ่ก็กลายเป็นสวนยางพาราของนายทุนไปหมดครับ
เราจึงต้องเดินป่าไปไกลขึ้นครับ เดินมาประมาณครึ่งวัน ยอมรับเลยว่าเหนื่อยมากครับทั้งชันทั้งลื่น ในที่สุดเราก็เจอกับป่าไผ่ผากใหญ่ที่ผมพูดถึงและในที่สุดเราก็ได้เจอร่องรอยการกินหน่อไม้ของด้วงชนิดนี้แล้วครับ
ปกติแล้วในการหาด้วงชนิดนี้เราต้องสังเกตุที่หน่อไม้ที่ขึ้นสูงเลยหัวขึ้นไปแล้วประมาณไม่เกิน4เมตรจะมีร่องรอยการเจาะหน่อไม้เป็นขุยขาวๆออกมา ด้วงชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ในลำหน่อไม้เลยครับ ด้วงชนิดนี้ตั้งแต่เริ่มสังเกตุมาคิดว่าตัวเต็มวัยในธรรมชาติน่าจะอยู่ได้ไม่นานเหมือนที่เราจับมาเลี้ยงเพราะพอหน่อไม้สูงมากๆขึ้นไปแล้วจะไม่มีด้วงพวกนี้มากินมันจะเลือกกินหน่อไม้ที่ยังไม่สูงมากและ ด้วงจะเลือกกินหน่อไม้เฉพาะบางกอที่เคยกินเท่านั้น จากการสอบถามน้องๆที่พามาจับบอกว่าจะรู้จักกอไผ่ที่เคยมีด้วงในปีก่อนๆพอมาปีนี้ก็จะมีด้วงอยู่ที่กอไผ่เดิมอีกทั้งๆที่ป่าแห่งนี้มีไม้ชนิดเดียวกันเป็นร้อยๆกอแต่จะมีกอไผ่ที่ด้วงเลือกกินอยู่ไม่ถึงสิบกอ และจะมีด้วงอยู่แค่ช่วงสั้นๆไม่ถึงเดือน
โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีแต่ด้วงตัวผู้ที่อยู่ในหน่อไม้ ผมสันนิฐานเอาเองว่า คงเป็นเพราะเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธ์ตัวเมียที่เป็นตัวเต็มวัยที่พร้อมจะผสมพันธ์จะรีบออกมาผสมพันธ์และก็ลงไปวางไข่เลยเราจึงพบตัวเมียน้อยมากส่วนใหญ่ที่พบคิดว่าน่าจะขึ้นมาหาอาหารกิน แต่ก็เป็นส่วนดีที่ว่าตราบใดที่ป่าแห่งนี้ยังไม่ถูกทำลายไปก็จะมีด้วงชนิดนี้อยู่ต่อไปอีกนาน เพราะคนที่จับแมลงขายแล้วส่วนใหญ่เขาจะไม่ค่อยจับตัวเมียไปเพราะเขาจะปล่อยให้มันออกลูกออกหลานได้มีจับขายไปอีกนานๆเพราะด้วงเป็นแหล่งรายได้ช่วงสั้นๆนอกฤดูทำการเกษตรของเขาครับ
หลังจากการเดินมาเกือบทั้งวันในป่าวันนี้เราได้ด้วงกว่างซางหูกระต่ายมาสองคู่ครับเหนื่อยมากฝนตกอีกทางลื่นและชันมาก การมาครั้งนี้ผมได้ตั้งใจมาดูสภาพของดินโคนต้นไผ่ที่ด้วงอยู่เพื่อที่จะได้กับไปจัดที่เพาะพันธ์ด้วงชนิดนี้ให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติให้มากที่สุดครับ(คิดว่าตัวเมียของมันน่าจะวางไข่ใต้ต้นไผ่นั่นล่ะครับ) ขอจบแค่นี้ก่อนครับ เดี๋ยวตอนหน้าจะมาลงวิธีการจัดตู้เพาะพันธุ์ด้วงกว่างซางหูกระต่ายให้ดูกันครับ สวัสดีครับ

มีคลิปการสำรวจมาให้ดูกันนิดหน่อยครับ 

5 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ10 ธันวาคม 2554 เวลา 04:03

    จับมาให้มั้งดิ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ10 ธันวาคม 2554 เวลา 04:04

    พี่ๆๆๆผมก็เพาะที่ชนิดโซ้งอยากได้หูกระต่ายอะผมอยู่ลพบุรีโทรมาที่036610894ผมชื่อเทมส์นะครับ

    ตอบลบ