วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ด้วงคีมเนื้อทรายเขี้ยวจันทร์ Cyclommatus lunifer (Boileau, 1905)

ชื่อไทย: ด้วงคีมเนื้อทรายเขี้ยวจันทร์
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyclommatus lunifer (Boileau, 1905)
ลักษณะเด่น: มีสีน้ำตาลแดง รูปร่างเรียวยาว เขี้ยวยาวโค้งคว่ำไปข้างหน้าเหมือนพระจันทร์เสี้ยว ส่วนปลายมีฟัน 2 ซี่ และมีฟันอีก 4 ซี่เรียงรายอยู่ห่างคั้งแต่ส่วนโคนถึงใกล้ส่วนปลาย ตรงกลางปากระหว่างเขี้ยวทั้งสองข้างของเพศผู้มีส่วนที่ยื่นออกไปข้างหน้าคล้ายไม้ง่ามสองแฉก ในเพศเมียส่วนนี้จะมีขนาดเล็กมากจนดูเหมือนไม่มี ทั้งตัวเป็นสีน้ำตาลแดงหรือแดง ที่อกมีขีดสีดำสองขีด มีรอยแทงกระจายอยู่ทั่วหัวและอก ลำตัวเรียวยาว ปีกเรียบและมีรอยแทงเล็กน้อย
ขนาด: เพศผู้ 30-50 มิลลิเมตร เพศเมีย 20-25 มิลลิเมตร
เขตแพร่กระจาย: พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย พบที่กาญจนบุรี
:ข้อมูลจาก http://www.siamensis.org/species_index#10132--Species: Cyclommatus lunifer



เจ้าตัวนี้เป็นตัวที่ผมชอบมาก จากที่เคยลงในบทความเก่าว่าเจอหนอนในธรรมชาติและจับมาเลี้ยง จนในที่สุดก็ได้ด้วงมาทั้งหมดแปดตัว แต่ได้ตัวเมียตัวเดียว  หลังจากนั้นผมก็รอที่จะเพาะเจ้าด้วงตัวนี้ หลังจากด้วงออกจากดักแด้มา ด้วงจะพักตัวประมาณเดือนกว่าด้วงถึงขึ้นมากินอาหารแสดงว่าด้วงผสมพันธ์ได้แล้ว ผมจึงจับมาเพาะพันธุ์ แต่มีตัวผู้ตั้งเจ็ดตัวจึงเลือกด้วงตัวผู้ไว้สี่ตัวด้วงที่เหลือ ก็นำไปปล่อยตรงที่นำหนอนมาเลี้ยง และบังเอิญไปได้ตัวเมียที่เป็นตัวป่ามาอีกตัวนึง
วิธีเพาะเจ้าด้วงตัวนี้ไม่ยากเลย เริ่มต้นด้วยการหาที่เพาะพันธุ์ด้วง ผมใช้ถังเดิมที่เคยเพาะด้วงครั้งก่อนๆในการเพาะถังสูงประมาณ30เซน

 ในการจัด ที่เพาะพันธุ์ก็มีขอนไม้ผุเน้นนุ่มมากๆ  กับขี้เลื่อยไม้ผุครับ ผมมีขอนไม้ผุหลายท่อนจึงปูพื้นด้วยขี้เลื่อยกับขอนไม้ผุสลับกันไปจนเต็มถัง ใช้ขอนไม้ผุไปสามท่อน
จากนั้นคัดเลือกพ่อพันธุ์ ผมใช้ตัวผู้คีมกลางๆผสมกับตัวเมียที่ได้มาใหม่จากป่า ตัวเมียตัวที่เอาหนอนมาเลี้ยงอ่อนแอมากๆ เลยไม่ได้เพาะไว้ครับ
ผมใส่ด้วงทั้งตัวผู้และตัวเมียลงรวมกันในถังเพาะเลยครับ อาหารที่ให้ด้วงกินก็มีเยลลี่ ลำใยและกล้วยสลับกันไปครับ


สังเกตุเจ้าด้วงพวกนี้ขี้อายมากเลยครับ พอลงไปในถังก็มุดขอนไม้หนีไปตลอดเลยจะเห็นนานๆครั้งตอนด้วงขึ้นมากินอาหารครับ

ผ่านไปประมาณหนึ่งเดือนกว่าๆ เห็นด้วงตัวผู้ตายอยู่ข้างๆอาหาร แต่ตัวเมียยังกินอาหารอย่างปกติ ผ่านไปอีกสักสองอาทิตย์ผมเปิดฝาถังดูก็เห็นด้วงตัวเมียกำลังวางไข่
สังเกตุว่าด้วงตัวเมียจะกัดท่อนไม้ผุให้เป็นโพรงแล้วนำเอาเศษขอนไม้ที่กัดกับขี้เลื่อยปั้นเป็นกระเปาะไข่แล้วนำมาอุดไว้ที่โพรงท่อนไม้นั้น

จะเป็นแบบนี้ครับ เห็นขี้เลื่อยเป็นก้อนที่ติดกับท่อนไม้
สงสัยจังลองแกะมาดูซิ เห็นอะไรไหมครับ

จับแม่มาเทียบกับลูก

อีกภาพ

 ตรงปลายนิ้วเป็นกระเปาะไข่ที่ด้วงทำและอุดไว้กับท่อนไม้ผุ บางกระเปาะมีหนอนสี่ตัวเลย
บางตัวก็อยู่ในท่อนไม้ผุ
 หนอนบางตัวก็อยู่ในขี้เลื่อย
หนอนตัวยังเล็กมากครับ



 หนอนตัวยังเล็กมากรื้ออกมาแยกหนอนใส่กระปุกละตัว โดยใช้ขี้เลื่อยอันเดิมอัดเข้าไปในกระปุกตอนรื้อได้หนอนมาห้าหกตัวและทำหนอนตายไปห้าหกตัวเหมือนกันจึงเลิกรื้อดูไว้แค่นี้ก่อน 
สรุป ด้วงคีมตัวนี้เพาะพันธุ์ได้ไม่ยาก แต่ขอนไม้ต้องเน้นนิ่มๆหน่อยครับ สังเกตุว่าตัวด้วงที่เอาหนอนมาเลี้ยงไว้จะอ่อนแอมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ได้ไม่ถึงสองเดือน อาจจะเป็นเพราะว่าตอนด้วงเข้าดักแด้ถูกรบกวนมากก็เป็นไปได้ ตอนนั้นผมเอาออกมาถ่ายภาพแบบวันเว้นวันเลย 
ไว้มีอะไรคืบหน้าจะมารายงานอีกครั้งครับผม




วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ด้วงคีมกวางตาลใต้ Odontolabis dalmanni dalmanni


ครั้งนี้มารายงานการเพาะอีกครั้งนะครับ กับด้วงคีมกวางตาลใต้ Odontolabis dalmanni dalmanni
ด้วงคีมตัวนี้เป็นอีกตัวนึงทีมีทางกาญจนบุรีบ้านผมเป็นตัวที่น่าสนใจมาก ผมอยากเพาะมานานแล้วแต่ไม่มีโอกาสเพราะเคยได้มาแต่ตัวผู้ตลอดทุกๆปี
ในปีนี้พอดีมีคนรู้จักนำมาฝากเขาจับมาเป็นคู่เลย เห็นคนจับมาบอกว่าด้วงกินน้ำยางไม้ชนิดนึงบนป่า อยู่คู่กันเลย  เมื่อได้ด้วงมาผมจับด้วงแยกไว้ให้ด้วงพักสองสามวัน  แล้วจึงเริ่มให้ด้วงผสม
เริ่มด้วยภาพตัวผู้ครับ

ด้วงตัวเมีย
 

เตรียมสถานที่ให้ด้วงผสม นำไม้ผุบดปูพื้นบางๆในกล่องเล็ก
ใส่อาหารและตัวเมียลงไปก่อน
จากนั้นก็ใส่ตัวผู้ลงไปโดยให้ด้วงตัวผู้ทับบนหลังด้วงตัวเมีย
จากนั้นก็ปิดฝากล่อง สักพักด้วงก็ผสมกันเอง เจ้าคู่นี้ผสมกันง่ายมากอาจจะเป็นเพราะด้วงจับคู่กันมาจากป่าแล้วก็เป็นไปได้
จากนั้นก็ไปเตรียมสถานที่วางไข่ให้ตัวเมียกัน เริ่มดินรองพื้นให้ด้วงวางไข่  ผมใช้มูลวัวผสมไม้ผุบดและดินใบไม้ผุหมักผสมทิ้งไว้สองเดือน
แล้วนำมาตากแดดไว้เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม
สำหรับดินรองพื้นสูตรนี้คิดว่าด้วงตัวเมียน่าจะวางไข่แน่ๆเพราะว่าตัวอ่อนด้วงสายพันธุ์เดียวกันนี้ที่แม่พันธ์เอามาจากอินโดนีเซียที่ได้มาจากน้องคนหนึ่ง ลองทดสอบเลี้ยงด้วยอาหารสูตรนี้แล้วหนอนตัวโตเร็วมาก
การปูพื้นก็เหมือนๆกับด้วงคีมตะกูลโอดอนทั่วไปเน้นหนาอัดดินปูพื้นแน่นๆ แล้ววางเศษไม้ผุกันด้วงหงายท้องไว้ข้างบน
ไว้มีอะไรคืบหน้าจะมารายงานอีกครั้งนึงครับผม

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ไข่ หนอน ดักแด้ ด้วง


เริ่มต้นด้วยไข่ครับเป็นถังเพาะพันธุ์ด้วงกว่างสามเขาเขาใหญ่(Chalcosoma atlas) ได้ตัวเมียมาลงเพาะไปในถังประมาณหนึ่งอาทิตย์ ในถังประกอบด้วยไม้ผุบด 5ส่วนมูลวัวเก่า3ส่วนและดินดำใบไม้ผุอีก2ส่วน ปูลึกประมาณ20-40 ซม.ตัวเมียให้อาหารเป็นกล้วยสุก อ้อยและเยลลี่

                           
ลองรื้อมาดูเล่นๆเห็นดินปูพื้นยุบลงไปมาก และก็เจอไข่แล้ว ทดลองแยกออกมาฟัก จากที่เลี้ยงมาระยะไข่จะอยู่ประมาณ10-20 วัน
ต่อไปมาดูหนอนกันบ้าง เจ้าหนอนตัวนี้เป็นด้วงกว่างสามเขาจันทร์(Chalcosoma caucasus)ครับมีน้องคนหนึ่งให้มาตอนเป็นหนอนระยะที2เป็นด้วงเพาะจากตัวป่ารุ่นแรก ที่เห็นเป็นหนอนที่เหลือรอดจากการตายเมื่อหน้าร้อนที่ผ่านมา ตัวเหลืองมากแล้วอีกไม่เกินปี คงจะเข้าดักแด้


ต่อมาเป็นดักแด้ของชนิดแรกด้วงคีมเนื้อทรายเขี้ยวจันทร์(Cyclommatus lunifer)ครับตัวนี้ได้หนอนมาจากขอนไม้ผุในป่าครับได้หนอนมาแปดตัวครับ ปัจจุบันเป็นดักแด้หมดแล้ว 
                                       จากที่หนอนเริ่มทำโพรงเพื่อเข้าดักแด้

                                                            กลายมาเป็นดักแด้ขาวๆน่ารัก




-_-แต่โชคร้ายหน่อยดันเป็นดักแด้ตัวผู้ไปซะเจ็ดตัวความหวังที่จะเพาะพันธุ์ด้วงชนิดนี้แทบดับศูนย์
แต่ยังดีหน่อยที่หนอนตัวสุดท้ายเข้าดักแด้เป็นตัวเมีย 

ผ่านไปเจ็ดวันดักแด้ตัวเมียเริ่มมีตาดำขึ้น ตอนนี้หนอนเข้าดักแด้กันครบแปดตัวแล้วเป็นตัวผู้ซะเจ็ดตัว
ตัวเมียหนึ่งเลยขอตั้งชื่อดักแด้ชุดนี้ว่า 
สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด
ละกันฮ่าๆๆๆ

ระยะเวลาการเข้าดักแด้ของด้วงแต่ละตัวไม่เท่ากันประมาณ10-20 วันอาจจะเป็นเพราะการรบกวนนำดักแด้มาถ่ายภาพด้วย ตัวอย่างภาพข้างล่างเข้าดักแด้พร้อมกันแต่ดักแด้ตัวหนึ่งใช้เวลา12วันเป็นตัวเต็มวัยอีกตัวหนึ่งสียังไม่เปลี่ยนเลย

         ในตอนนี้มีตัวผู้เต็มวัยเขี้ยวงามๆสองตัวแล้ว เอ....แล้วจะเอาตัวไหนทำพ่อพันธ์ดีเนี่ยะ!!!

ต่อไปมาดูเจ้าด้วงตัวนี้จัดว่าเป็นไฮไลน์ของด้วงและดักแด้เลย
เริ่มต้นมาจากไปได้หนอนมาจากขอนไม้ผุในป่าอีกเช่นกันตอนได้หนอนมาที่แรกเป็นหนอนระยะที่สามแล้วหนักประมาณยี่สิบกว่ากรัมจับเลี้ยงไว้ในกระปุกห้าลิตรสองเดือนไม่ได้ยุ่งกับมันเลยวันนี้ยกมาดูเห็นมีกระเปาะดักแด้อยู่ข้างกระปุก
                                                        ค่อยๆเอามือรื้อขึ้นมาดู
                                          ทำกระเปาะได้ใหญ่มาก เอด้วงอะไรนะ

                   ย้ายกระเปาะมาใส่กล่องเพาะใหญ่ๆหน่อยเพื่อสะดวกต่อการเก็บภาพ

แอบดูซิด้วงอะไร อืม...ตัวผู้แน่ๆ
                           ค่อยๆแงะกระเปาะมาถ่ายภาพ เฮ้ย!!! นี่มันด้วงคีมฟันเลื่อยนี่

 เป็นด้วงคีมที่ผมชอบมากๆขนาดใช้ได้เลย คงเป็นตัวเต็มวัยขนาดมากกว่า6เซนแน่ๆ
ปิดท้ายด้วยดักแด้หนอนด้วงดอกไม้ยังไม่ทราบชนิด ได้หนอนมาจากป่า หนอนดูแล้วคล้ายหนอน 
ด้วงคีมมากๆเลย ไว้คราวหน้าจะลงรูปหนอนให้ดูกันครับ
หลังจากรอมาเดือนนึงด้วงคีมเนื้อทรายเขี้ยวจันทร์ก็ออกมาเป็นตัวเต็มวัยหมดแล้วครับ
ชุดนี้จะเก็บไว้สามสี่ตัว เอาไว้เพาะพันธ์ต่อ ตัวผู้ที่เหลือคงจะเอาไปปล่อยตรงที่เอาหนอนมาครับ

 ฟันเลื่อยก็ออกมาเป็นตัวผู้เขี้ยวกลางๆเช่นกัน แต่ชนิดนี้ยังไม่มีตัวเมียเลย จะได้เพาะไหมเนี่ยชนิดนี้
ไว้มีอะไรเพิ่มเติมจะมาอัพเดตให้ดูกันใหม่ครับ