วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ด้วงคีมเนื้อทรายเขี้ยวจันทร์ Cyclommatus lunifer (Boileau, 1905)

ชื่อไทย: ด้วงคีมเนื้อทรายเขี้ยวจันทร์
ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyclommatus lunifer (Boileau, 1905)
ลักษณะเด่น: มีสีน้ำตาลแดง รูปร่างเรียวยาว เขี้ยวยาวโค้งคว่ำไปข้างหน้าเหมือนพระจันทร์เสี้ยว ส่วนปลายมีฟัน 2 ซี่ และมีฟันอีก 4 ซี่เรียงรายอยู่ห่างคั้งแต่ส่วนโคนถึงใกล้ส่วนปลาย ตรงกลางปากระหว่างเขี้ยวทั้งสองข้างของเพศผู้มีส่วนที่ยื่นออกไปข้างหน้าคล้ายไม้ง่ามสองแฉก ในเพศเมียส่วนนี้จะมีขนาดเล็กมากจนดูเหมือนไม่มี ทั้งตัวเป็นสีน้ำตาลแดงหรือแดง ที่อกมีขีดสีดำสองขีด มีรอยแทงกระจายอยู่ทั่วหัวและอก ลำตัวเรียวยาว ปีกเรียบและมีรอยแทงเล็กน้อย
ขนาด: เพศผู้ 30-50 มิลลิเมตร เพศเมีย 20-25 มิลลิเมตร
เขตแพร่กระจาย: พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย พบที่กาญจนบุรี
:ข้อมูลจาก http://www.siamensis.org/species_index#10132--Species: Cyclommatus lunifer



เจ้าตัวนี้เป็นตัวที่ผมชอบมาก จากที่เคยลงในบทความเก่าว่าเจอหนอนในธรรมชาติและจับมาเลี้ยง จนในที่สุดก็ได้ด้วงมาทั้งหมดแปดตัว แต่ได้ตัวเมียตัวเดียว  หลังจากนั้นผมก็รอที่จะเพาะเจ้าด้วงตัวนี้ หลังจากด้วงออกจากดักแด้มา ด้วงจะพักตัวประมาณเดือนกว่าด้วงถึงขึ้นมากินอาหารแสดงว่าด้วงผสมพันธ์ได้แล้ว ผมจึงจับมาเพาะพันธุ์ แต่มีตัวผู้ตั้งเจ็ดตัวจึงเลือกด้วงตัวผู้ไว้สี่ตัวด้วงที่เหลือ ก็นำไปปล่อยตรงที่นำหนอนมาเลี้ยง และบังเอิญไปได้ตัวเมียที่เป็นตัวป่ามาอีกตัวนึง
วิธีเพาะเจ้าด้วงตัวนี้ไม่ยากเลย เริ่มต้นด้วยการหาที่เพาะพันธุ์ด้วง ผมใช้ถังเดิมที่เคยเพาะด้วงครั้งก่อนๆในการเพาะถังสูงประมาณ30เซน

 ในการจัด ที่เพาะพันธุ์ก็มีขอนไม้ผุเน้นนุ่มมากๆ  กับขี้เลื่อยไม้ผุครับ ผมมีขอนไม้ผุหลายท่อนจึงปูพื้นด้วยขี้เลื่อยกับขอนไม้ผุสลับกันไปจนเต็มถัง ใช้ขอนไม้ผุไปสามท่อน
จากนั้นคัดเลือกพ่อพันธุ์ ผมใช้ตัวผู้คีมกลางๆผสมกับตัวเมียที่ได้มาใหม่จากป่า ตัวเมียตัวที่เอาหนอนมาเลี้ยงอ่อนแอมากๆ เลยไม่ได้เพาะไว้ครับ
ผมใส่ด้วงทั้งตัวผู้และตัวเมียลงรวมกันในถังเพาะเลยครับ อาหารที่ให้ด้วงกินก็มีเยลลี่ ลำใยและกล้วยสลับกันไปครับ


สังเกตุเจ้าด้วงพวกนี้ขี้อายมากเลยครับ พอลงไปในถังก็มุดขอนไม้หนีไปตลอดเลยจะเห็นนานๆครั้งตอนด้วงขึ้นมากินอาหารครับ

ผ่านไปประมาณหนึ่งเดือนกว่าๆ เห็นด้วงตัวผู้ตายอยู่ข้างๆอาหาร แต่ตัวเมียยังกินอาหารอย่างปกติ ผ่านไปอีกสักสองอาทิตย์ผมเปิดฝาถังดูก็เห็นด้วงตัวเมียกำลังวางไข่
สังเกตุว่าด้วงตัวเมียจะกัดท่อนไม้ผุให้เป็นโพรงแล้วนำเอาเศษขอนไม้ที่กัดกับขี้เลื่อยปั้นเป็นกระเปาะไข่แล้วนำมาอุดไว้ที่โพรงท่อนไม้นั้น

จะเป็นแบบนี้ครับ เห็นขี้เลื่อยเป็นก้อนที่ติดกับท่อนไม้
สงสัยจังลองแกะมาดูซิ เห็นอะไรไหมครับ

จับแม่มาเทียบกับลูก

อีกภาพ

 ตรงปลายนิ้วเป็นกระเปาะไข่ที่ด้วงทำและอุดไว้กับท่อนไม้ผุ บางกระเปาะมีหนอนสี่ตัวเลย
บางตัวก็อยู่ในท่อนไม้ผุ
 หนอนบางตัวก็อยู่ในขี้เลื่อย
หนอนตัวยังเล็กมากครับ



 หนอนตัวยังเล็กมากรื้ออกมาแยกหนอนใส่กระปุกละตัว โดยใช้ขี้เลื่อยอันเดิมอัดเข้าไปในกระปุกตอนรื้อได้หนอนมาห้าหกตัวและทำหนอนตายไปห้าหกตัวเหมือนกันจึงเลิกรื้อดูไว้แค่นี้ก่อน 
สรุป ด้วงคีมตัวนี้เพาะพันธุ์ได้ไม่ยาก แต่ขอนไม้ต้องเน้นนิ่มๆหน่อยครับ สังเกตุว่าตัวด้วงที่เอาหนอนมาเลี้ยงไว้จะอ่อนแอมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ได้ไม่ถึงสองเดือน อาจจะเป็นเพราะว่าตอนด้วงเข้าดักแด้ถูกรบกวนมากก็เป็นไปได้ ตอนนั้นผมเอาออกมาถ่ายภาพแบบวันเว้นวันเลย 
ไว้มีอะไรคืบหน้าจะมารายงานอีกครั้งครับผม